ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษีได้เท่าไร

ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษีเงินได้ได้เท่าไร มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ?

เรื่องAdminCustomer

       การซื้อบ้านและมีบ้านเป็นของตัวเอง เป็นหนึ่งในความฝันของใครหลาย ๆ คน ซึ่งสำหรับคนที่กู้เงินซื้อบ้าน หรือสร้างบ้าน อย่าลืมใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบ้านปี 2567 ซึ่งเป็นมาตรการของรัฐบาลในการสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยที่ดี และยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน และยังเป็นหนึ่งในมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอีกด้วย 

 

คนมีบ้าน ลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง

ในปี 2567 เจ้าของบ้านสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ดังต่อไปนี้ 

ดอกเบี้ยเงินกู้ ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท

สำหรับผู้ที่ขอสินเชื่อบ้านจากธนาคาร สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้ที่จ่ายในรอบปีภาษี 2567 มายื่นกับกรมสรรพากรเพื่อขอลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท

  • กรณีที่กู้ร่วมจะต้องหารดอกเบี้ยเงินกู้ตามจำนวนผู้กู้ เช่น หากกู้ร่วม 2 คน จะลดหย่อนภาษีได้คนละ 50,000 บาท
  • กรณีที่กู้ซื้อบ้านหลายหลัง สามารถยื่นขอลดหย่อนภาษีได้ทุกหลัง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท 

ค่าสร้างบ้านใหม่ ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท 

สำหรับในปี 2567 – 2568 รัฐบาลได้ออกมาตรการลดหย่อนภาษี 10,000 บาท ต่อค่าก่อสร้างจริงที่รวม Vat แล้ว 1 ล้านบาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท แปลว่า จำกัดราคาก่อสร้างไว้ที่ 10 ล้านบาทนั่นเอง 

เอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียมในการยื่นภาษี

เพื่อให้การยื่นภาษีเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ผู้มีเงินได้ควรเตรียมเอกสารในการขอลดหย่อนภาษีให้เรียบร้อยดังต่อไปนี้ 

เอกสารจากธนาคารที่ขอสินเชื่อบ้าน

ในกรณีที่ขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้านหรือสร้างบ้าน จะต้องขอเอกสารจากทางธนาคารในการสรุปจำนวนดอกเบี้ยที่จ่ายในรอบปีภาษี เพื่อเป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษีประจำปี และเพื่อความสะดวกสบายในการยื่นภาษีมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ให้ความยินยอมแก่ธนาคารในการส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่กรมสรรพากรในปีภาษีนั้น ๆ โดยจะต้องทำก่อนวันที่ 30 ธันวาคม ซึ่งหลังจากให้ความยินยอมแล้ว ข้อมูลจะไปปรากฏในเอกสารการขอยื่นภาษีโดยอัตโนมัติทันที ไม่ต้องกรอกข้อมูลหรือส่งเอกสารให้กรมสรรพากรเอง 

สัญญาจ้างสร้างบ้านใหม่

สำหรับผู้ที่จ้างผู้รับเหมาหรือบริษัทก่อสร้างในการสร้างบ้านใหม่ ให้ยื่นเอกสารสัญญาจ้างที่เซ็นสัญญากันเรียบร้อยทั้งสองฝ่าย เพื่อขอใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษี

 

เคล็ดลับในการลดหย่อนภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ

การวางแผนลดหย่อนภาษีเป็นหนึ่งในการวางแผนทางการเงินเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลได้มอบสิทธิประโยชน์ให้แก่ประชาชนในแง่มุมต่าง ๆ ไม่เพียงแต่การกู้เงินซื้อบ้านหรือการสร้างบ้านเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของการลงทุน ประกัน ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา รวมถึงมาตรการพิเศษที่รัฐบาลนำมากระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละปี การวางแผนลดหย่อนภาษีอย่างรอบคอบจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยประหยัด สามารถนำเงินส่วนต่างไปใช้ประโยชน์ได้

วางแผนการยื่นภาษี พร้อมรายการลดหย่อนต่าง

แนะนำให้ตรวจสอบสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีในรายการต่าง ๆ อย่างครบถ้วน เพื่อที่จะวางแผนในการลดหย่อนภาษีแต่เนิ่น ๆ โดยมีรายการที่สำคัญดังต่อไปนี้

  1. ค่าลดหย่อนภาษีพื้นฐาน
  • ค่าใช้จ่ายส่วนตัว สูงสุด 60,000 บาท 
  • คู่สมรส สูงสุด 60,000 บาท
  • ค่าเลี้ยงดูบุตร คนละ 30,000 บาท
  • ค่าคลอดบุตร ตามจริง ไม่เกิน 60,000 บาท 
  • ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ที่อายุมากกว่า 60 ปี คนละ 30,000 บาท 
  • ค่าเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท 

2. ประกัน เงินออม และกองทุน 

  • ประกันชีวิต ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ประกันสุขภาพ ไม่เกิน 25,000 บาท
  • ประกันสังคม ไม่เกิน 9,000 บาท 
  • ประกันบำนาญ* ไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมิน
  • กองทุน Thai ESG ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ* ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง 
  • กองทุนการออมแห่งชาติ* ตามจริง 
  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท 
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน 
  • ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคม ไม่เกิน 100,000 บาท 

3. เงินบริจาค 

  • ทั่วไป ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่น ๆ 
  • การศึกษา กีฬา โรงพยาบาลรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น ๆ 2 เท่าที่จ่ายจริง และไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่น ๆ 
  • พรรคการเมือง ไม่เกิน 10,000 บาท 

4. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 

  • Easy e-Receipt ไม่เกิน 50,000 บาท
  • เที่ยวเมืองรอง ไม่เกิน 15,000 บาท 
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน ไม่เกิน 100,000 บาท
  • สร้างบ้านใหม่ ไม่เกิน 100,000 บาท

หมายเหตุ* ประกันบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนการออมแห่งชาติ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนบำนาญ รวมกันแล้วลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท 

จัดเตรียมเอกสารรายได้ และเอกสารลดหย่อนให้พร้อม

รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบภาษีให้พร้อม ทั้งแสดงเอกสารแสดงที่มาของรายได้ และสิทธิการลดหย่อนอื่น ๆ แนะนำให้สแกนหรือถ่ายรูป เพื่อให้พร้อมอัปโหลดเอกสารทันทีที่ยื่นแบบภาษีเงินบุคคลธรรมดา การส่งเอกสารที่ครบถ้วนจะช่วยให้การพิจารณาภาษีรวดเร็วยิ่งขึ้น และได้เงินคืนภาษีไวยิ่งขึ้น 

 

ซื้อบ้านกับ Maison สามารถนำดอกเบี้ยไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท 

ไม่ว่าคุณกำลังมองหาบ้านเดี่ยวพื้นที่กว้างขวาง บ้านแฝดโครงการใหม่ หรือทาวน์โฮมราคาย่อมเยา เมซันมีบ้านทุกแบบทุกสไตล์ให้คุณได้เลือกซื้อในทำเลศักยภาพ และสามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้ไปขอลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท นัดเยี่ยมชมโครงการหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02-2953397-8 

 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. ลดหย่อนภาษี ปี 2567: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2567 จาก  https://www.finnomena.com/z-admin/tax-deduction-2/
  2. ค่าสร้างบ้านใหม่ 2567-2568. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2567 จาก  https://www.itax.in.th/pedia/ค่าสร้างบ้านใหม่-2567-2568/ 
  3. หมวดค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ/สร้างที่อยู่อาศัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2567 จาก https://www.rd.go.th/60060.html 

Related Posts

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า